�Ҿ�Ԩ������������
โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการ จมน้ำ จังหวัดกำแพงเพชร ปี ๒๕๕๘
วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๘ นายรุ่งชัย ใบกว้าง ปลัดจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานเปิดโครงการโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จังหวัดกำแพงเพชร ปี ๒๕๕๘ ณ สวนน้ำเฉลิมพระเกียรติ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยนายแพทย์เพชรฤกษ์ แทนสวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร มอบให้นายแพทย์บัลลังก์ อุปพงษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) เป็นผู้กล่าวรายงาน จากสถานการณ์เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำในประเทศไทยที่อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี พบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ๑ สูงกว่าการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น โดยข้อมูลจากสำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จังหวัดกำแพงเพชรมีเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำในช่วง ๓ ปี ย้อนหลังคือ ปี๒๕๕๕ มีเด็กเสียชีวิตจาการจมน้ำจำนวน ๑๙ ราย คิดเป็น ๑๓.๔ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๕๖ เสียชีวิตจำนวน ๑๕ ราย คิดเป็น ๑๐.๘ ต่อแสนประชากร และปี ๒๕๕๗ จำนวน ๑๔ ราย คิดเป็น ๑๐.๓ ต่อแสนประชากร อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุ ๕ - ๑๕ ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและปิดภาคการศึกษาเป็นช่วงที่มีการเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุด และวันหยุดสุดสัปดาห์ แหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำมากที่สุด คือ แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยพบว่าเด็กมักเสียชีวิตครั้งละหลายๆคนพร้อมกัน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จะเห็นว่าปัจจัยการเกิดการจมน้ำพอสรุปได้ ๒ ปัจจัยที่สำคัญ คือ ๑)ปัจจัยด้านบุคคล คือตัวเด็กเอง ความเสี่ยงของเด็กขึ้นกับสภาพร่างกาย พัฒนาการ พฤติกรรม และโรคประจำตัวของเด็กแต่ละคน และ ๒)ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การไม่มีรั้วล้อมรอบแหล่งน้ำ การจัดให้มีพื้นที่เล่นที่เหมาะสมให้แก่เด็ก ฐานะทางครอบครัว เด็ก/ผู้ดูแล/ชุมชนไม่รู้สึกว่าเป็นความเสี่ยงต่อเด็ก ผู้ช่วยเหลือไม่มีความรู้ในการกู้ชีพ/ปฐมพยาบาลผิดวิธี สถานบริการทางการแพทย์ใกล้ชุมชนไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลือภาวะฉุกเฉิน การป้องกันการจมน้ำของเด็กควรมีมาตรการในการดำเนินงานให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการจมน้ำทั้งทางด้านตัวบุคคลและด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การสื่อสารให้ประชาชนรับทราบความเสี่ยงและวิธีการป้องกัน การกำหนดพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เช่น การจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเสริมสร้างความรู้และทักษะชีวิตให้กับเด็ก เช่น ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ ทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งการสอนให้เด็ก/ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กสามารถปฐมพยาบาลและช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบภัยทางน้ำได้ การสร้างเครือข่ายการป้องกันการจมน้ำ(Merit Maker) เพื่อให้นำเอาวิธีการป้องกันและช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำหรือตกน้ำ และการบูรณาการให้หน่วยงานทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำและให้การสนับสนุนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ
842 view