พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้ต้องขัง เนื่องด้วยภาวะความเป็นอยู่ที่แออัดในเรือนจำส่งผลก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์มากมาย จนประสบปัญหาด้านสุขภาพ แต่ด้วยหลักมนุษยธรรม ผู้ต้องขังควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมเมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนภายนอก มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธา พิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นองค์ประธาน ที่ปรึกษา และมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชร กิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณี สิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นองค์ประธานกรรมการ และได้พระราชทานเครื่องมือแพทย์ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่เรือนจำเป้าหมายและโรงพยาบาลแม่ข่ายทั่วประเทศ
เมื่อปีงบประมาณ 2564, 2565 และ 2567 โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นโครงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นนโยบายภารกิจและประเด็นการตรวจราชการในประเด็นที่ 1 โครงการพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักคือกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมได้แก่ 1) กรมอนามัย 2) กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 3) สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการโครงการพระราชดำริฯ/กองโรคเอดส์และโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์/กองวัณโรค กรมควบคุมโรค และ 4) สถาบันกัลป์ยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ต้องขังในเรือนจำ ทัณฑสถาน หรือสถานกักขัง ได้รับบริการทางสาธารณสุขที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม เป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน
จังหวัดกำแพงเพชรมีเรือนจำประจำจังหวัด 1 แห่ง คือ เรือนจำกลางกำแพงเพชร ในปี พ.ศ.2562 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ประกาศรับขึ้นทะเบียนหน่วยบริการสถานพยาบาลเรือนจำกลางกำแพงเพชร (รหัส 22741) โดยมีโรงพยาบาลกำแพงเพชรเป็นหน่วยบริการแม่ข่าย ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการเครือข่ายปฐมภูมิมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดกำแพงเพชร คำสั่งที่ 2280/2566 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำกลางกำแพงเพชร ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้ต้องขังให้ได้รับการรักษาพยาบาลเท่าเทียมบุคคลภายนอก ตามหลักมนุษยธรรมภายใต้โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีการบูรณาการทำงานจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร โรงพยาบาลกำแพงเพชร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 นครสวรรค์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 3 นครสวรรค์ โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเทศบาลเมืองกำแพงเพชร และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง ร่วมดำเนินงานการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำกลางกำแพงเพชร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ ดังนี้
1. เครือข่ายราชทัณฑ์ปันสุขฯ ต้นแบบ 1 เครือข่าย/เขตสุขภาพ
ดำเนินการประเมินตนเองตามเเนวทางพัฒนาเครือข่ายราชทัณฑ์ปันสุขฯ ต้นเเบบ และมีเครือข่ายราชทัณฑ์ปันสุขฯ จังหวัดกำแพงเพชร เรือนจำกลางกำแพงเพชร โรงพยาบาลกำแพงเพชร ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง และคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังจังหวัดกำแพงเพชร
2. ดำเนินการพัฒนาการจัดระบบบริการเครือข่ายราชทัณฑ์ปันสุขฯ อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน 6 ด้าน
2.1 ดำเนินการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขัง
- ตรวจรักษาตามเวชปฏิบัติ (แพทย์) ร้อยละ 60
- การบริการ Telemedicind /Teledent/Telepsychiatry
- อบรม อสรจ.ปีละ 2 ครั้ง
- การบริการทันตกรรม (คัดกรอง/การได้รับการรักษา)
- พัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศ /การรายงาน อสรจ.101
- อาคาร สถานที่ ไม่เเออัด ปลอดภัย
- งบประมาณสนับสนุน (เรือนจำ/รพ.เเม่ข่าย/สปสช.)
2.2 การบริการพื้นฐานการส่งเสริมป้องกันโรค
- การคัดกรองวัณโรค (รายใหม่ ร้อยละ 100)
- การคัดกรองวัณโรค (รายเก่า ร้อยละ 90)
- การคีย์ข้อมูลการคัดกรอง TB ในโปรเเกรม NTIP
- การคัดกรอง HIV, Hepatitis C, Syphilis ( ร้อยละ 50)
- ดำเนินการตามมาตรฐานเรือนจำสีขาวปลอดเชื้อ (โรคอุบัติใหม่)
2.3 การบริการสุขภาพจิตสำหรับผู้ต้องขัง
- ได้รับการดูแลสุขภาพจิต (คัดกรอง,บำบัดรักษา) ร้อยละ 95
- มีการติดตามผู้ต้องขังจิตเวชหลังพ้นโทษบนระบบดิจิทัล โดยไม่กลับมาก่อคดีซ้ำภายใน 1 ปี ร้อยละ 60 (การวิเคราะห์หาสาเหตุของผู้ป่วยที่กลับมาก่อคดีซ้ำ)
2.4 การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ต้องขัง
2.5 การส่งต่อเพื่อการรักษาการส่งต่อผู้ต้องขัง มีการซ้อมเเผนการดำเนินการกับเเม่ข่าย รพ.แม่ข่าย
2.6 การตรวจสอบสิทธิการรักษาผู้ต้องขัง
3. ดำเนินการพัฒนาหน่วยบริการในเรือนจำให้มีศักยภาพเทียบเคียงกับหน่วยบริการปฐมภูมิ
ตามเกณฑ์คุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิของกระทรวงสาธารณสุข (พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562)
4. รูปภาพประกอบ
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
โครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยได้บูรณาการระบบส่งเสริมสุขภาพ และดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิดในรูปแบบ “เครือข่ายสุขภาพ” ตามแนวทางปฏิรูปสุขภาพ ปี พ.ศ. 2542 และแนวคิดองค์การอนามัยโลก 2551 (The Partnership for Maternal, Newborn and Child Health) เพื่อลดอุบัติการณ์ของภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ตลอดมา โดยมีสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงกลาโหม ทั้งหมด 37 แห่งเข้าร่วม และในปี พ.ศ. 2551 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานกองทุน ทีปังกรนภัทรบุตรมาเพื่อใช้แก้ปัญหาภาวะคลอดก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงิน 29 ล้านบาท มีการวิเคราะห์ผลตัวชี้วัดของสมาชิกและนำมาเทียบเคียง เพื่อค้นหากระบวนการมีผลลัพธ์ที่ดี และนำมาออกแบบกระบวนการใหม่ เริ่มตั้งแต่ การสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และการรักษาทารกเกิดก่อนกำหนด พร้อมกันนี้ องค์อุปถัมภ์ฯ ได้เสด็จไปติดตามผลการพัฒนางานในพื้นที่ 20 จังหวัด ส่งผลให้ได้รับการจัดสรรอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น เช่น ตู้อบทารกแรกเกิด เครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ รวมทั้งมีการจัดตั้ง ห้องคลอดสำหรับหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ปรับปรุงหออภิบาลทารกแรกเกิดให้มีความทันสมัย ในปี 2558 จึงได้ขอรับพระมหากรุณาธิคุณให้ “ โครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกฯ” อยู่ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และขยายการดำเนินงานไปยังจังหวัดในเขตสุขภาพ จังหวัดกำแพงเพชร เป็น 1 ใน 3 ของจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 3 (กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี) ในการเป็นจังหวัดดำเนินงานนำร่องในการแก้ไขปัญหาการคลอดก่อนกำหนด ภายใต้โครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ธราธิป โคละทัต ผู้จัดการโครงการได้ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานของจังหวัด ให้มีการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ครอบคลุมทั้งจังหวัด ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 และดำเนินการต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
1.วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพมารดาและทารกเพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ข้อมูลการฝากครรภ์และคลอด ข้อมูลภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด ข้อมูลการคลอดก่อนกำหนด สาเหตุการคลอดก่อนกำหนด ระบบเครือข่ายแม่และเด็ก ระบบฝากครรภ์และระบุช่องว่างของปัญหาระบบริการภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยบุคลากรผู้ให้บริการจากทุกอำเภอในจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมประชุม
2. จัดทำแผนงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด รวมทั้งแนวทางการติดตามและประเมินผลสำเร็จระดับจังหวัด เป็นแนวทางดำเนินการเดียวกันทั้งจังหวัด โดยมีแผนงานหลักจำนวน 6 แผนงาน ได้แก่ 1.การป้องกันภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดในชุมชน 2.การฝากครรภ์ และควบคุม
ความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ 3.กระบวนการสอนในคลินิกฝากครรภ์ 4.การบริหารยาโปรเจสเตอโรน 5.การยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด และการส่งต่อ 6.การดูแลรักษาและการส่งต่อทารกแรกเกิดก่อนกำหนด
3. ควบคุมกำกับ ติดตาม การดำเนินงาน และรวบรวมข้อมูลภาวการณ์คลอดก่อนกำหนดจากโรงพยาบาลทุกแห่งตามแบบรายงานเฝ้าระวังสุขภาพแม่และเด็กทุก 1 เดือน
4. โรงพยาบาลทุกแห่งบันทึกข้อมูลมารดาคลอดก่อนกำหนด ผ่านโปรแกรมออนไลน์ ส่งโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร รวบรวมข้อมูลและสรุปผลการวิเคราะห์ ทุก 3 เดือน
ตารางที่ 1 สถานการณ์การคลอดก่อนกำหนด จังหวัดกำแพงเพชร ปีงบประมาณ 2560 – 2566
ข้อมูล | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1.จำนวนมารดาคลอด (คน) | 5,159 | 4,869 | 4,687 | 4,391 | 4,250 | 3,958 | 4,107 |
2.มารดาคลอดก่อนกำหนด (คน) | 514 | 460 | 405 | 310 | 328 | 296 | 335 |
ร้อยละ | 9.93 | 9.47 | 8.59 | 7.04 | 7.69 | 7.45 | 7.5 |
ที่มา : รายงานเฝ้าระวังสุขภาพแม่และเด็ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
มะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่าในปี 2020 พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลก 2.3 ล้านคน/ปี เสียชีวิต 685,000 คน/ปี และมีผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมและยังมีชีวิตอยู่ถึง 7.8 ล้านคน ในประเทศไทยมะเร็งเต้านมก็เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีเช่นกันโดยพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 22,158 คน/ปี เสียชีวิต 8,266 คน/ปี หรือ ทุก 1 ชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิต จากมะเร็งเต้านม 1 คน
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมยังไม่แน่ชัด แต่มักจะสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนในร่างกายอายุมากขึ้น ประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม และพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้น้อยและขาดการออกกำลังกาย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การค้นหาหรือวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและรักษาได้ทัน (พบเร็วรักษาเร็ว) ซึ่งมีด้วยกัน 6 วิธี คือ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านมแมมโมแกรม ซึ่งสามารถค้นพบก้อนตั้งแต่ขนาด 2 - 3 มม. สามารถรักษาให้หายขาดได้เกือบทั้งหมด แต่การเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านมแมมโมแกรม ไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถจะเข้าถึงบริการได้
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิกาญจนบารมีจัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกชเรย์เต้านมเคลื่อนที่ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสโดยให้บริการกับสตรีที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมที่อยู่ในซนบทและห่างไกลทั่วประเทศโดยให้บริการทุกวันตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๗ จนถึงปัจจุบัน ได้ออกให้บริการทั้งหมด 1,500 ครั้ง และสามารถค้นหาผู้ที่เป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรก จำนวน 968 ราย
ในมหามงคลสมัย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565 มูลนิธิกาญจนบารมี รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่พระองค์ มีต่อมูลนิธิฯ และพสกนิกรของพระองค์ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง จึงได้จัดทำ "โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส 4 หน่วย 4 ภาค เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565 และรณรงค์ให้สตรีที่อยู่ห่างไกลและด้อยโอกาสที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยจากมะเร็งเต้านมให้ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกด้วยการตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรณรงค์ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งเต้านม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดอาหารที่มีไขมัน การรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ตรวจเต้าอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และเอกซเรย์เต้านมสำหรับสตรีที่มีปัจจัยเสี่ยงและด้อยโอกาส หากพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมจะได้ส่งต่อเข้ารับการรักษาตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข โดยจะมีหน่วยคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ออกให้บริการทุกวันในเวลาราชการวันละ 1 อำเภอ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษาครบ 7 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565
2. เพื่อรณรงค์ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปและสตรี เข้าใจเรื่องมะเร็งเต้านม
3. คัดกรอง ค้นหา ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
4. สอนวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสให้สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นและถูกต้อง
5. ตรวจเต้านมให้สตรีกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
6. เอกซเรย์เต้านมในสตรีที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมที่ด้อยโอกาส
7. ค้นหาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่ม เพื่อส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาลในจังหวัดนั้นๆ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้กำหนดให้บริการที่จังหวัดกำแพงเพชรในพื้นที่ ดังนี้
วันที่ | อำเภอ | สถานที่ |
---|---|---|
18 – 20มีนาคม 2567 | อำเภอคลองขลุง | องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง ม.10 ตำบลคลองขลุง |
25 – 26 มีนาคม 2567 | อำเภอบึงสามัคคี | อาคาร OTOP เทศบาลตำบลระหาน |
27 – 29 มีนาคม 2567 | อำเภอขาณุวรลักษบุรี | หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรี |
สรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส 4 หน่วย 4 ภาค ทั่วประเทศ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567
กิจกรรม | อำเภอคลองขลุง | อำเภอบึงสามัคคี | อำเภอขาณุวรลักษบุรี | รวม |
---|---|---|---|---|
1. ผู้มาร่วมงานทั้งหมด | 585 | 536 | 814 | 1,935 |
2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยปฏิบัติงาน | 107 | 108 | 104 | 319 |
3. ผู้มารับบริการ (ลงทะเบียน) | 443 | 276 | 689 | 1,408 |
4. ซักประวัติ/ ผ่านการฝึกคลำเต้านม | 443 | 276 | 689 | 1,408 |
5. ประวัติมีก้อน | 62 | 33 | 51 | 146 |
6. ตรวจพบก้อน/ สิ่งผิดปกติ | 44 | 61 | 57 | 162 |
7. พบความเสี่ยงต่ำ | 311 | 209 | 529 | 1,049 |
8. พบความเสี่ยงสูง | 132 | 67 | 160 | 359 |
9. ตรวจโดยเจ้าหน้าที่ | 237 | 181 | 118 | 536 |
10. ตรวจโดยแพทย์พื้นที่ | 105 | 114 | 428 | 647 |
11. ตรวจโดยแพทย์มูลนิธิ | 126 | 77 | 149 | 352 |
12. Mammogram/ Ultrasound | 127 | 86 | 137 | 350 |
13. Ultrasound | 15 | 3 | 8 | 26 |
ผลการตรวจ | ||||
14. BIRADS 0
(จำเป็นต้อง MMG เพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบผลครั้งก่อน) |
0 | 0 | 0 | 0 |
15. BIRADS 1
(ตรวจไม่พบความผิดปกติ) |
19 | 12 | 22 | 53 |
16. BIRADS 2
(พบรอยโรคผิดปกติไม่ร้ายแรง เช่น ถุงน้ำ หินปูน) |
85 | 47 | 81 | 213 |
17. BIRADS 3
(ตรวจพบสิ่งที่คาดว่าน่าจะปกติที่พบได้ในเต้านม(probably benign) โอกาสเป็นมะเร็ง 0 – 2%) |
31 | 25 | 35 | 91 |
18. BIRADS 4
(ตรวจพบสิ่งที่สงสัยว่าผิดปกติ มีโอกาสเป็นมะเร็ง 2 - 95%) |
6 | 5 | 7 | 18 |
19. BIRADS 5
(ตรวจพบสิ่งที่สงสัยว่าผิดปกติ มีโอกาสเป็นมะเร็งสูง > 95%) |
1 | 0 | 0 | 1 |
20. BIRADS 6
(เป็นมะเร็ง) |
0 | 0 | 0 | 0 |
21. Refer
(BIRADS 4+5+6) |
7 | 5 | 7 | 19 |
การแปลผลโดยรวมแบ่งออกเป็น 7 Categories คือ BIRADS Categories 0-6
ระดับ BIRADS | คำอธิบาย | คำแนะนำ |
---|---|---|
BIRADS 0 | Incomplete จำเป็นต้องมีการถ่ายเอ็กซเรย์ เพิ่มเติม และ/หรือ Mammogram ที่เคยทำก่อนหน้านี้เพื่อใช้เปรียบเทียบ | ควรตรวจคัดกรองทุกปี |
BIRADS 1 | Negative ไม่พบสิ่งผิดปกติใดเลย โดยทั่วไปมีโอกาสเป็นมะเร็ง คิดเป็น 0 % | ตรวจคลำเต้านมด้วยตัวเอง เดือนละ 1 ครั้ง และตรวจติดตามทุกปี |
BIRADS 2 | Benign สิ่งตรวจพบไม่ใช่มะเร็ง โดยทั่วไปมี โอกาสเป็นมะเร็งคิดเป็น 0 % | ตรวจคลำเต้านมด้วยตัวเอง เดือนละ 1 ครั้ง Mammogram ปีละ 1 ครั้ง |
BIRADS 3 | Probably benign lesion ความผิดปกติที่น่าจะไม่เป็นมะเร็งมีโอกาสเป็นมะเร็ง < 2 % | ตรวจคลำเต้านมด้วยตัวเอง เดือนละ 1 ครั้งและตรวจติดตามผลทุก 6 เดือน (ประมาณ 2 ปี)Mammogram ปีละ 1 ครั้ง |
BIRADS 4 | uspicious ความผิดปกติที่สงสัยว่าอาจเป็น มะเร็ง มีโอกาสเป็นมะเร็ง > 2 % แต่ < 95 % | ส่งตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อ |
BIRADS 5 | Highly suggestive of Malignancy ความผิดปกติที่สงสัยอย่างยิ่งว่าอาจเป็นมะเร็งมีโอกาสเป็นมะเร็ง > 95 % | ส่งตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อ |
BIRADS 6 | Known Biopsy-Proven Malignancy ทราบผลชิ้นเนื้อแล้วว่าเป็นมะเร็ง | ทำMammogram และ Ultrasound เพื่อประเมินผลก่อนการรักษา |
โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส 4 หน่วย 4 ภาค ทั่วประเทศ
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567
วันที่ 18 – 20 มีนาคม 2567 ณ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram)
ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส 4 หน่วย 4 ภาค ทั่วประเทศ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567
วันที่ 25 – 26 มีนาคม 2567 ณ อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอ๊กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram)
ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส 4 หน่วย 4 ภาค ทั่วประเทศ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567
วันที่ 27 – 29 มีนาคม 2567 ณ อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
จากพระปฐมบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอดและครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป" และเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำ "โครงการฟันเทียม รากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗" ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมอนามัย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการฟันเทียม รากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อให้ผู้สูงอายุและก่อนวัยสูงอายุ ที่สูญเสียฟันทั้งปากหรือเกือบทั้งปาก ได้รับบริการใส่ฟันเทียมทั้งปาก และรากฟันเทียมตามความจำเป็น พร้อมกับจัดระบบบริการเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากทั้งโดยบุคลากร และด้วยภาคประขาขนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ - กันยายน ๒๕๖๗ ภายใต้เป้าหมายการจัดบริการใส่ฟันเทียม ๗๒,๐๐๐ คน และรากฟันเทียม ๗,๒๐๐ คน ในพื้นที่ ๗๖ จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการจัดสรรเป้าหมายฟันเทียม รากฟันเทียม ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ - ๒๕๖๗ จัดบริการใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุและก่อนสูงอายุ ทุกสิทธิ จำนวน ๑,๐๕๘ ราย และจัดบริการฝังรากฟันเทียมเพื่อรองรับฟันเทียม จำนวน ๑๕๕ ราย
การดำเนินงาน โครงการฟันเทียม รากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดกำแพงเพชร ปี 2566 – 2567 ได้มีการจัดให้บริการดังนี้
1.จัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปาก และมากกว่า 16 ซี่ แก่ผู้สูงอายุและก่อนสูงอายุ ทุกสิทธิการรักษา จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับเป้าหมาย ปี 2566 - ๒๕๖๗ จำนวน ๑,๐๕๘ ราย โดยมีการจัดบริการ ณ โรงพยาบาลกำแพงเพชร โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง พบว่าผลการดำเนินงานในภาพรวมจังหวัดกำแพงเพชร ปี 2566 - 2567 จัดบริการใส่ฟันเทียม จำนวน ๒,๐๐๗ ราย ผ่านตามเกณฑ์เป้าหมาย ร้อยละ 100
2.จัดบริการฝังรากฟันเทียมเพื่อรองรับฟันเทียม แก่ผู้สูงอายุที่มีฟันเทียมทั้งปาก ที่มีข้อบ่งชี้ จำเป็น ต้องได้รับการฝังรากฟันเทียมเพื่อรองรับฟันเทียมในผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับเป้าหมาย ปี 2566 - ๒๕๖๗ จำนวน ๑๕๕ ราย ผู้ได้รับการฝังรากฟันเทียม ทั้งหมด ๖๒ ราย อยู่ระหว่างการดำเนินงาน
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
เนื่องด้วยประชากรในพื้นที่หมู่บ้านป่าคา โละโคะ ป่าหมาก เป็นพื้นที่สูง มีความทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก ประกอบกับประชาชนมีความยากจน หลายครอบครัวไม่มีพาหนะในการเดินทาง ส่งผลการเดินทางมารับบริการทางด้านสุขภาพช่องปากเป็นไปด้วยความยากลำบาก อีกทั้งที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าคา ไม่มีทันตบุคลากรประจำเพื่อให้บริการทางทันตกรรม ดังนั้น กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลโกสัมพีนคร ได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้จัดทำกิจกรรมออกให้บริการทางทันตกรรมพื้นฐาน ถอนฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์ รวมถึงให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก แก่ประชาชนในพื้นที่ทุรกันดารดังกล่าวขึ้น ในทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของทุกปี
ประชาชนและนักเรียนในพื้นที่และหมู่บ้านใกล้เคียงมารับบริการทางทันตกรรมโดยเฉลี่ย 40 คนต่อวัน แบ่งเป็น ถอนฟัน 20 คน เคลือบหลุ่มร่องฟันและเคลือบฟลูออไรด์ 20 คน
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
จากสภาพปัญหาบริเวณพื้นที่ชายแดนและทุรกันดารในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ ปัญหาความมั่นคงตามแนว ชายแดน ปัญหาความยากจน ปัญหาการทําลายทรัพยากรป่าไม้และปัญหายาเสพติด ทําให้มีผลกระทบต่อความ มั่นคงและการพัฒนาประเทศเป็นส่วนรวม เมื่อความทราบถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จากการที่พระองค์เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรด้วยพระองค์เอง โดยการซักถาม จากราษฎรและ ส่วนราชการต่างๆ ที่เข้าไปพัฒนา พระองค์ทรงพระราชทานความช่วยเหลือราษฎรให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ในรูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า บริเวณบ้านป่าคา ตําบลโป่งน้ำร้อน อําเภอคลองลาน จังหวัด กําแพงเพชร เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ ปัญหาพื้นฐานของหมู่บ้านเริ่มจากการที่มีเส้นทาง เข้า - ออกเพียงเส้นทางเดียวทําให้การศึกษาหรือการประกอบอาชีพมีทางเลือกน้อย การขนส่งหรือการที่จะนํา พืชผลทางการเกษตรออกไปจําหน่ายสู่ตลาดเป็นไปได้ยากลําบาก ราษฎรในพื้นที่ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ มีการศึกษาระดับต่ำ การประกอบอาชีพจะเป็นในลักษณะของการหมุนเวียนใช้พื้นที่ ประมาณ 3 - 4 ปีก็จะกลับมาทําในพื้นที่เดิมอีกครั้ง เมื่อมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้น ก็เกิดปัญหาการบุกรุกถากถางพื้นที่ทําการเกษตรเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตของราษฎรชาวเขาเผ่าม้ง ปัญหายาเสพติด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวในด้านฝั่งตรงข้ามมีกองกําลังชนกลุ่มน้อย มีการลักลอบนํายาเสพติดเข้ามาจําหน่ายให้กับราษฎรในพื้นที่ และปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยเฉพาะปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าด้วยการถากถางและตัดไม้ทําลายป่าเพื่อการดํารงชีพ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนสํานักพระราชวังมาตรวจเยี่ยม และให้กําลังใจแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ พร้อมกับจัดประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยการจัดตั้งโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงขึ้นบริเวณ บ้านป่าคา หมู่ที่ 8 ตําบลโป่งน้ำร้อน อําเภอ คลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2551 ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้มีหนังสือถึงกองทัพภาคที่ 3 ความว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้ดำเนินงานโครงการพัฒนาสถานีการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริบ้านป่าคา เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ โดยมุ่งส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ สิ่งแวดล้อมให้กับราษฎรชาวไทยภูเขาบ้านป่าคาและหมู่บ้านบริวาร โดยมีพื้นที่เป้าหมายในการจัดตั้งโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงขึ้น บริเวณบ้านป่าคา หมู่ที่ 8 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน โดยมีหมู่บ้านบริวารได้แก่บ้านป่าหมาก และบ้านโละโคะ หมู่ที่ 10 ตำบลโกสัมพีนคร อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร
กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริ (สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงฯ บ้านป่าคา) โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรและเกษตรกร เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผ่านการสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และหันมาใช้สารสกัดสมุนไพรหรือปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและดูแลสุขภาพ ภายใต้กิจกรรมการให้ความรู้การใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกต้องและปลอดภัย การตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร และอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเกษตรกร ตลอดจนมีการรณรงค์วางแผนครอบครัวชาวไทยภูเขาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีผลการดำเนินงาน ในปี 2566 ดังนี้
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 90 (เป้าหมาย 300 คน)
- กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจเลือดอยู่ในระดับเสี่ยง และไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจเลือดซ้ำและมีผลการตรวจอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 74.07 (เป้าหมาย 300 คน)
- กลุ่มเป้าหมายผ่านการอบรมมีความรู้ถูกต้อง เรื่องการวางแผนครอบครัว ร้อยละ 90 (เป้าหมาย 50 คน)
กิจกรรมรณรงค์ลดความเสี่ยงของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
กิจกรรมการรณรงค์วางแผนครอบครัว
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถได้เสด็จเยี่ยมราษฎรทรงพบว่า มีราษฎรยากจนเป็นจำนวนมากขาดแคลนที่ดินทำกิน มีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อยและมันสำปะหลัง แต่มีความสามารถในการทำเครื่องเงินและผ้าปัก ซึ่งน่าจะได้มีการรวมกลุ่มราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ จึงจัดตั้งเป็นหมู่บ้านกลุ่มอาชีพที่ตนถนัด โดยใช้ชื่อว่า “โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่” โดยมีกองทัพภาคที่ 3 กรมป่าไม้ และหน่วยงานราชการในพื้นที่ร่วมดำเนินการ รวมทั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ได้เข้ามาฝึกอบรมอาชีพให้กับราษฎร ต่อมาวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้ามาช่วยเหลือ และสนับสนุนโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ โดยให้ไปปฏิบัติงานตามแนวพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในการจัดที่ดินทำกินให้ราษฎร และเพื่อนำเอาผลงานและแนวทางการพัฒนาของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และสถานีวิจัยไป ขยายผลส่งเสริมตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยยึดหลัก 3 ประการ คือ ส่งเสริมอาชีพแก่ชาวไทยภูเขายากจนตามหลักมนุษยธรรม ลดการปลูกพืชเสพติด และอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และโปรดให้ใช้ชื่อเรียกว่า : โครงการคลองลาน ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น โครงการขยายผลสำเร็จโครงการหลวงเพื่อการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนพื้นที่คลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร,โครงการขยายผลโครงการหลวงคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และปี 2559 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงคลองลาน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของโครงการหลวง โดยมีแนวทางการพัฒนาครอบคลุมทั้งด้านบริบทของโลกและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจะใช้พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นขอบเขตในการจัดทำแผ่นแม่บทฯ เพื่อการพัฒนาที่เน้นความสมดุลในมิติทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บนฐานข้อมูลการตัดสินใจที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน ตลอดจนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและการพัฒนาองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนแผนในอนาคตมีเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อให้ชุมชนเป้าหมายบนพื้นที่สูงมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความมั่นคง ทางอาหาร มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้องค์ความรู้ และกระบวนการเรียนรู้ของโครงการหลวง ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางของโครงการหลวงกระทรวงสาธารณสุขได้น้อมนำหลักการดำเนินการดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่รับผิดชอบที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูง จำนวน 7 กลุ่มบ้าน ดังนี้
1.กลุ่มบ้านอุดมทรัพย์ หมู่ที่ 8 ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง
2.กลุ่มบ้านปางมะละกอ หมู่ที่ 8 ตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง
3.กลุ่มบ้านปางมะนาว หมู่ที่ 11 ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี
4.กลุ่มบ้านสุขสวรรค์ หมู่ที่ 13 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน
5.กลุ่มบ้านสุขวิจิตรพัฒนา หมู่ที่ 14 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน
6.กลุ่มบ้านน้ำพระทัย หมู่ที่ 14 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน
7.กลุ่มบ้านสามัคคีธรรม หมู่ที่ 16 ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน
โดยกำหนดกิจกรรมดังนี้ 1) การสร้างเสริมการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยและวัยเรียน 2) รณรงค์ให้ชุมชนบนพื้นที่สูงมีการดำเนินการวิถีใหม่ห่างไกล NCD 3) การรณรงค์ให้ความรู้เกษตรกรในเรื่องการใช้สารเคมี และ 4) การคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยการเจาะหาสารโคลีนเอสเตอเลส
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
ดังเป็นที่ประจักษ์ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีคุณูปการอย่างหาที่สุดมิได้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและผู้ยากไร้ในชนบท ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลสุขภาพของประชาชนชาวไทยทุกช่วงชีวิต ได้ดำเนินงานโครงการต่างๆเพื่อสนองพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เพื่อเน้นการเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด - 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2558 - 31 มีนาคม 2561 ตั้งเป้าหมายให้เด็กไทยทุกคน ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้อง มีมาตรฐานอย่างเท่าเทียม จากพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ชุมชน และเจ้าหน้าที่ให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์สำหรับพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยตามช่วงวัยโดยให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงกลาโหม รวมถึงองค์กรหลักอื่นๆ และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับผิดชอบช่วยผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายเด็กปฐมวัยไปสู่การปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประสานความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักในการพัฒนาเด็กและให้ชุมชนและสังคมเป็นฐานที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาเลี้ยงดูเด็กทุกขั้นตอน ให้มีคุณภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา เติบโตขึ้นเป็นคนไทยที่พึงประสงค์ เป็นทั้งคนดี คนเก่ง มีความสุข และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติ แต่สถานการณ์ปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย (0-5 ปี) ที่ผ่านมากลับพบว่า เด็กปฐมวัยร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กปฐมวัยในประเทศไทยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้า 1 โดยเฉพาะด้านการใช้ภาษา รองลงมาคือการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งทักษะทั้งสองด้านเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสมองและจะส่งผลต่อการเรียนรู้ต่อไป และจากการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กไทยของกรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2559 ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ 98.23 (เป้าหมายที่100) 2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทยให้สมวัยเกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน และเป็นระบบอย่างยั่งยืน ปี 2552 กรมสุขภาพจิต โดยสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ภายใต้การแนะนำของท่านอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.วัลลภ ไทยเหนือ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาการเด็กของประเทศไทยพัฒนาแบบประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี และได้นำแบบประเมินนี้มาหาค่าเกณฑ์ปกติของพัฒนาการ เด็กแรกเกิด - 5 ปีของไทยครั้งแรกทั่วประเทศ และทดลองใช้ พร้อมทั้งได้ขยายผลไปในเขตบริการสุขภาพที่ 1 ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยดำเนินงาน "โครงการบูรณาการพัฒนาการเด็กล้านนา (Lanna Child Development Integration Project; LCDIP)? เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังคัดกรอง ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก รวมถึงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข โดยเน้นให้ พ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มากที่สุด และพัฒนาความรู้ของ อสม. ให้ช่วยดูแลเด็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของปู่ย่า ตายาย ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็ก โดยครอบคลุมทั้งเด็กปกติและเด็กกลุ่มเสี่ยง Birth Asphyxia หรือ Low Birth Weight และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุข ได้นำเครื่องมือดังกล่าวมาประกาศใช้ทั่วประเทศ ร่วมกับบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยเน้นย้ำการสื่อสารความรู้ สร้างกระแสและความตระหนักให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความสำคัญในการ คัดกรอง ส่งเสริม ค้นหา ติดตาม ดูแลเด็กทั้งเด็กปกติและเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าให้ได้รับการดูแลแบบครบวงจร
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กิจกรรมการดำเนินงานสำคัญ ดังนี้
1.ประชาสัมพันธ์ความร่วมมือรณรงค์คัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั่วจังหวัดทุกปีในเดือน กรกฎาคม และการรณรงค์คัดกรองและติดตามกระตุ้นพัฒนาการ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตรวจคัดกรองและติดตามกระตุ้นพัฒนาการเด็กใน 5 ช่วงอายุ คือ 9,18,30,42 และ 60 เดือน ในกรณีมีพัฒนาการสมวัย แนะนำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย หากพบเด็กที่พัฒนาการสงสัยล่าช้าแนะนำให้ พ่อแม่ ผู้ปกครองฝึกทักษะเด็กเรื่องนั้นตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) บ่อยๆ แล้วนัดให้มาพบผู้ประเมินอีกครั้ง ภายใน 1 เดือน
2. ให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขในการเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี
3. การพัฒนาบุคลากร ฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับ เน้นความสำคัญในการตรวจคัดกรองระดับปฐมภูมิอย่างมีประสิทธิภาพและระบบการส่งต่อ และส่งเสริมพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก สามารถประเมินพัฒนาการเด็กด้วยตนเอง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่สงสัยล่าช้า และติดตามกระตุ้นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
4. สนับสนุนคู่มือการเฝ้าระวังระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual : DSPM) สำหรับเด็กปกติและคู่มือการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง (Developmental Assessment For Intervention Manual : DAIM) สำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยง ให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ (รพ.สต./รพช./รพท.) ทั่วจังหวัด
5. เยี่ยมเสริมพลังบุคลากรในพื้นที่ วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการและให้ข้อเสนอแนะรวมถึงให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานพื้นที่
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักในปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน ในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเสริมสร้างสติปัญญา และถ้าขาดจะส่งผลให้ระดับสติปัญญามีการพัฒนาไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะในกลุ่มของหญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มเด็กวัยเรียน สำหรับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ถ้าได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอหรือขาดจะทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แท้งหรือพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นเด็กปัญญาอ่อน เป็นใบ้ เพราะสารไอโอดีนมีส่วนเสริมสร้างเพิ่มจำนวนขนาดเซลล์สมอง ในส่วนกลุ่มเด็กวัยเรียนจะส่งผลให้เรียนรู้ช้า เฉื่อยชานอกจาก 2 กลุ่มดังกล่าวแล้ว สารไอโอดีนยังมีความสำคัญต่อกลุ่มประชาชนทั่วไป ถึงแม้สารไอโอดีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกาย จะต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็มีความจำเป็นสำหรับสร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต ถ้าได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สติปัญญา เซื่องซึม เฉื่อยชา ประสิทธิภาพการทำงานลดลง รวมทั้งการเรียนรู้ต่างๆของเด็กด้วย ประชาชนยังขาดความรู้ในเรื่องของสารไอโอดีน จึงทำให้เกิดปัญหาโรค และมีสภาวะร่างกายที่เกิดจากขาดสารไอโอดีนตามมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงตระหนักในปัญหาดังกล่าว จึงมีพระราชดำริให้มีการดำเนินงานโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ในปี พ.ศ.2534 มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ โดยได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธาน คณะกรรมการประกอบด้วย ข้าราชการระดับผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการชุดนี้ตั้งแต่ตำแหน่งรองประธานลงมา ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2534 การขจัดโรคขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงจัง ของภาคีเครือข่ายต่าง ๆการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง พ.ศ. 2553 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เพื่อให้เกิดการประสานงานและการดำเนินงานที่ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ 4 คณะ
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน 4 คณะ ประกอบด้วย
1. คณะอนุกรรมการผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติ
2. คณะอนุกรรมการทบทวนการเสริมไอโอดีนในเกลือและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
3. คณะอนุกรรมการจัดตั้งระบบเฝ้าระวังและติดตามการขาดสารไอโอดีนในกลุ่มเสี่ยง
4. คณะอนุกรรมการสื่อสารสู่สาธารณะและผลักดันนโยบายสาธารณะ
ยุทธศาสตร์การควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขับเคลื่อนการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนสู่ความยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เฝ้าระวังสถานการณ์และติดตามโรคขาดสารไอโอดีน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ประชาสัมพันธ์และการตลาดเชิงสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนา
การดำเนินงานหมู่บ้านชุมชนไอโอดีนยั่งยืนจังหวัดกำแพงเพชร ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสำคัญ ดังนี้
1. ความครอบคลุมเกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ (20-40 ppm) ในระดับครัวเรือนอย่างน้อย ร้อยละ 90 โดยปริมาณการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนมีเพียงพอ มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอและ เกลือเสริมไอโอดีนสามารถซื้อได้ในราคาที่เหมาะสมทุกพื้นที่
2. ค่ามัธยฐานของระดับไอโอดีนในปัสสาวะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มากกว่า 150 ไมโครกรัม/ลิตร
3. มีการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนไอโอดีนครอบคลุมทุกพื้นที่ ร้อยละ 100 โดยการบูรณาการร่วมกับทีมหมอครอบครัว (Family Care Team) เฝ้าระวังติดตามการจ่ายและการกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร 6 เดือน
กลวิธีการขับเคลื่อนการดำเนินงานหมู่บ้านชุมชนไอโอดีน จังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ดังนี้
1) Partnership (ภาคีเครือข่าย) ใช้กลไก MCH Board คณะอนุกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ระดับจังหวัดและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ท้องถิ่นจังหวัด/อบจ./ศึกษาธิการจังหวัด/พาณิชย์จังหวัด/อุตสาหกรรมจังหวัด/ชมรมผู้ประกอบการ
2) Investment (ลงทุน) มีแหล่งงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) Regulation (การใช้ตัวบทกฎหมาย) มีการควบคุมแหล่งผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน เกลือไอโอดีนที่ไม่ได้มาตรฐาน
4) Advocacy (นโยบาย) มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ ประชาชนทั่วไป และร้านอาหาร
5) Build Capacity (การฝึกอบรม) มีการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน และแกนนำชุมชน
การดำเนินงานหมู่บ้านชุมชนไอโอดีนยั่งยืน มีการดำเนินงาน ดังนี้
1) มีนโยบาย/มาตรการ การควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2) มีการสื่อสารนโยบาย/มาตรการการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3) มีสถานที่จำหน่ายเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ได้แก่ ร้านค้า ร้านขายของชำ รถเร่ตลาดนัด ฯลฯ ในชุมชน/หมู่บ้านได้รับการตรวจสอบคุณภาพ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือแกนนำชุมชน และได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
4) มีสถานที่จำหน่ายอาหาร ได้แก่ ร้านอาหาร โรงอาหาร รถเข็น แผงลอย ฟู๊ดทรัค และโฮมเมดทุกแห่งในชุมชน/หมู่บ้านมีการใช้เกลือหรือผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนที่ได้คุณภาพในการปรุงประกอบอาหาร
5) มีครัวเรือนใช้เกลือเสริมไอโอดีน และผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป
6) สถานบริการสาธารณสุขในชุมชน/หมู่บ้านต้องมีการจ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีนในคลินิกฝากครรภ์
7) มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการ การควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน บูรณาการงานร่วมกับผู้นำชุมชน ครู องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และประชาชนร่วมเป็นคณะทำงาน
8) ผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชน/หมู่บ้าน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภาท้องถิ่น ได้รับความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน
9) มีการนำนโยบาย/มาตรการสู่การปฏิบัติ
10) แหล่งผลิตเกลือเสริมไอโอดีนในชุมชน/หมู่บ้าน ทุกแห่งผลิตเกลือเสริมไอโอดีนได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
11) มีการประเมินความรู้และการปฏิบัติเรื่องการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน/หมู่บ้าน และประชาชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
12) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนทุกแห่งในชุมชน/หมู่บ้านมีการใช้เกลือบริโภค หรือผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนที่ได้คุณภาพในการปรุงประกอบอาหารให้เด็กบริโภค
13) มีการสร้างรูปแบบความรอบรู้ เช่น การจัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เรื่องการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร่วมกับประชาชน จัดทำเพจสื่อสารความรู้ออนไลน์ จัดทำข่าวแจกสื่อมวลชนท้องถิ่น และออกอากาศรายการวิทยุ สวท.กำแพงเพชร
14) อสม. มีการติดตาม เรื่องการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ และการได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน
15) มีการใช้ I-KIT ตรวจสอบคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนอย่างถูกวิธี
16) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดนโยบายสาธารณะให้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนและใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน ที่ได้มาตรฐานปรุงอาหารทุกครั้ง สื่อสารสู่สังคมทุกช่องทางและต่อเนื่อง พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการการจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้และเกิดความร่วมมือของทีมงาน จนเกิดนวัตกรรมในชุมชนที่สามารถขจัดปัญหาสารไอโอดีนเพื่อสร้างความยั่งยืน และต่อเนื่องของชุมชน
นวัตกรรม
1) การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขทุกหมู่บ้าน เป็น อสม.ทูตไอโอดีน
2) นวัตกรรมกระปุกเกลือเสริมไอโอดีน
3) ผลิตภัณฑ์พริกแกงเสริมไอโอดีน
4) ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มเสริมไอโอดีน จำหน่ายในท้องถิ่น และพื้นที่ใกล้เคียง
5) การพัฒนาศักยภาพเด็กนักเรียนในโรงเรียน เป็นยุวทูตไอโอดีน
จังหวัดกำแพงเพชรได้รับรางวัลพื้นที่ต้นแบบหมู่บ้าน/ชุมชนไอโอดีนดีเด่น ระดับเขตสุขภาพที่ 3 ดังนี้
- ประจำปี 2559 บ้านรุ่งโรจน์ หมู่ 5 ตำบลจันทิมา อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และบ้านโชคชัยพัฒนา หมู่ 11 ตำบลคลองลาน อำเภอคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร
- ประจำปี 2561 บ้านหล่มชัย หมู่ 23 ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และบ้านหนองข่อย หมู่ 7 ตำบลลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
- ประจำปี 2562 บ้านคลองน้ำไหลใต้ หมู่ 3 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
- ประจำปี 2564 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับขับเคลื่อนชุมชนหมู่บ้านไอโอดีนยั่งยืนเพื่อให้คนไทยห่างไกลจากโรคขาดสารไอโอดีน ระดับประเทศไทย
ผลลัพธ์การดำเนินงานหมู่บ้านชุมชนไอโอดีนยั่งยืนในจังหวัดกำแพงเพชร
1) เด็กเก่งดี มีสุข ไอคิวดี ได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ
2) เด็กมีโภชนาการที่ดี เติบโตสมวัย
3) หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเท่าเทียมกัน
4) ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีน
5) ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมสมุนไพร ให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวพระราชดำริ และสืบสานพระราชปณิธานแห่งพระองค์ โดยปรากฏในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยกิจกรรม การสำรวจรวบรวมพันธุกรรมสมุนไพรที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำสมุนไพรที่รวบรวมเพาะปลูก และรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพ และปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์สมุนไพร โครงการศึกษาประเมินในด้านต่างๆ ให้ทราบถึงองค์ประกอบ คุณสมบัติ และการใช้ประโยชน์สมุนไพร การจัดทำระบบข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ การวางแผน และพัฒนาพันธุกรรมสมุนไพรระยะยาว ๓๐ - ๕๐ ปี และกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ สมุนไพรแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ เยาวชน บุคคลทั่วไป ให้มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญเกิดความปิติ และสำนึกที่จะร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ สมุนไพรของไทยให้คงอยู่เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าประจำชาติสืบไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ที่เกี่ยวกับ "ปัจจัยสี่" อันเป็นพื้นฐานหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างไรก็ตามเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ประโยชน์ที่เคยได้รับจากสมุนไพรอาจแปรไปตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ความต้องการของสังคม และผู้บริโภค การสำรวจค้นคว้าดำเนินการอยู่ในขณะนี้จึงสามารถทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของสมุนไพรหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิด บางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดายโดยโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการศึกษาพัฒนาและอนุรักษ์สมุนไพรเกิดขึ้นหลายโครงการ จัดสร้างสวนป่าสมุนไพรชนิดต่างๆไว้ศึกษาวิจัยทางวิชาการเผยแพร่การใช้ประโยชน์ และ เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ของแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับปรัชญาในการพัฒนาสังคมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) 5ประการ คือ
1. การส่งเสริมศักยภาพในการพึ่งตนเองของประชาชน
2. การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
3. การอนุรักษณ์ภูมิปัญญาไทย
4. เศรษฐกิจพอเพียง
5. การพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่
ปัจจุบันโครงการฯ ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการปลูกสมุนไพร ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและมีการพัฒนาต่อยอดในระดับอำเภอ - จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้สมุนไพรในครัวเรือน เพื่อดูแลสุขภาพของคนในชุมชน จำนวน 1 กลุ่ม สมาชิก 20 คนกิจกรรมการปลูกสมุนไพร ณ หมู่ที่ 15 บ้านไร่พิจิตร ต.โกสัมพี อ.โกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร โดยจัดทำแปลงสาธิตสมุนไพร จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
1. บ้านนางจำรัส น้อยรุ่ง บ้านเลขที่ 62 ม.15 ต.โกสัมพี อ.โกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร
2. ที่ทำการ รพ.สต.หนองแดน ม.2 ต.โกสัมพี อ.โกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) เป็นหน่วยแพทย์ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ปฏิบัติงานโดยอาสาสมัครประกอบด้วยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกไปให้บริการประชาชนในพื้นที่ทุรกันดาร หลังจากที่เสด็จเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ประชาชนห่างไกลนับตั้งแต่ พ.ศ 2507 เป็นต้นมา ทรงพบว่าราษฎรเหล่านั้นเมื่อเจ็บป่วยไม่มีโอกาสได้รับรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่โดยเสด็จฯ อยู่เสมอ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเล็งเห็นว่ากิจการและการดำเนินงาน ให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประสบผลและเป็นประโยชน์อย่างมหาศา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1 ล้านบาท เป็นทุนเริ่มแรก จดทะเบียนจัดตั้งเป็น “มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” หรือ พอ.สว. มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Princess Mother’s Medical Volunteer Foundation” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2517 โดยพระองค์เป็นองค์นายิกากิตติมศักดิ์ หลังจากเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ต่อตราบจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์
จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เป็นจังหวัดแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ลำดับที่ 62 เมื่อปี พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และอาสาสมัคร พอ.สว. รวม 4,128 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาและส่งเสริมให้มีแพทย์ และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคปฏิบัติงาน เพื่อช่วยเหลือให้การรักษาพยาบาล ป้องกันโรค ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพอนามัย ของประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลคมนาคม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรและอาสาสมัคร พอ.สว. จังหวัดกำแพงเพชร ณ สมาคมชาวไร่อ้อย อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ที่ทรงพระกรุณาโปรดให้ออกหน่วยแพทย์ เพื่อตรวจรักษาโรคแก่ประชาชน นับเป็นพระกรุณาธิคุณ ที่ทรงมีพระเมตตาและทรงห่วงใยในสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนเสมอมา ด้วยทรงตระหนักว่าสุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชน เป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ไว้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. จังหวัดกำแพงเพชร ได้เริ่มออกปฏิบัติงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 - 2567 เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งปัจจุบันหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ออกปฏิบัติงานโดยบูรณาการร่วมกับโครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” จังหวัดกำแพงเพชร เป็นประจำทุกเดือน ในทุกอำเภอตามแผนปฏิบัติงาน พอ.สว. ประจำปี เพื่อช่วยเหลือให้การรักษาพยาบาล ป้องกันโรค ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพอนามัยของประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลคมนาคม การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. มีหน่วยงานร่วมกิจกรรม ประกอบด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร โรงพยาบาลกำแพงเพชร โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง โดยกิจกรรมการให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. จังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย การให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป การบริการทันตกรรม การบริการแพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด การตรวจเต้านมตามโครงการ ของมูลนิธิถันยรักษ์ การรับบริจาคอวัยวะและดวงตา การรับรองความพิการ การตรวจคัดกรองสุขภาพจิตการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ให้ความรู้และคำแนะนำด้านสุขภาพกับผู้มารับบริการ มีผู้ป่วยได้รับการอนุมัติเป็นผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์ มูลนิธิ พอ.สว. จำนวน 85 ราย โดยมูลนิธิ พอ.สว. สนับสนุนค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง และค่าอาหาร สำหรับผู้ป่วยเพื่อมารับบริการตามแพทย์นัด
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
ด้วยพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยและสรรพชีวิตในข้อทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติรวมถึงพระวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโลกหนึ่งเดียว โดยมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย ดังนั้นเพื่อสนองพระปณิธานและพระวิสัยทัศน์ดังกล่าว เห็นควรดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าเป็นมาตรการหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนให้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยบรรลุตามเป้าหมาย
พื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดกำแพงเพชรใน ปี 2566 ได้แก่ อำเภอทรายทองวัฒนา ได้รับการประเมินผ่านแล้ว และในปี 2567 พื้นที่เป้าหมายได้แก่อำเภอคลองขลุงและอำเภอปางศิลาทอง อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานตามเกณฑ์ประเมิน และกำหนดประเมินในเดือนสิงหาคม 2567
อำเภอทรายทองวัฒนา เป็นพื้นที่ประเมินซ้ำเพื่อรักษาสภาพการเป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ในปี 2567 กำหนดประเมินในเดือนสิงหาคม 2567
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
โครงการ TO BE NUMBER ONE หรือ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีมีเป้าหมาย การพัฒนาเยาวชน วัยรุ่น ให้มีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจ และเปิดโอกาสให้ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด เปิดเผยตัวเองเข้ารับการบำบัดรักษา ฟื้นฟู โดยสมัครใจ ภายใต้กิจกรรม “ใครติดยายกมือขึ้น” โดยมียุทธศาสตร์และวิธีการดำเนินโครงการที่ยึดวัยรุ่นและเยาวชนเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานการเข้าถึงสาเหตุของปัญหา เข้าใจธรรมชาติ พฤติกรรมและความต้องการของเยาวชน วัยรุ่นและกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ทั้งวัยทำงาน ในสถานประกอบการ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ ในสถานพินิจฯ เรือนจำ และสำนักงาน คุมประพฤติโดยมีกลยุทธ์สำคัญคือการใช้สโลแกน “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” ก่อ ให้เกิดความท้าทายและจูงใจเยาวชนไม่ให้ยุ่งกับยาเสพติดแต่มุ่งค้นหาความเป็นหนึ่ง ของตนเองแนวคิดและกิจกรรมในโครงการเน้นการให้โอกาสมากกว่าการปราบปราม โดยเพิ่มโอกาสให้เยาวชนได้รับการพัฒนาและแสดงความสามารถที่หลากหลายในลักษณะส่งเสริมการแข่งกันทำความดีเป็นสิ่งจูงใจให้เยาวชนอยากเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เป็นลักษณะ Play and Learn ใช้ กิจกรรมเป็นสื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้โดยการ ประยุกต์กับองค์ความรู้สุขภาพจิตและมีแนวทางการดำเนินงานโดยใช้วิธีบูรณาการ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนในทุกระดับ กิจกรรม ในโครงการส่วนใหญ่ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการให้โอกาสและทางเลือกแก่เด็กและ เยาวชนที่เท่าเทียมกัน เพื่อพัฒนาทักษะทางร่างกายอารมณ์จิตใจและสังคม โดยใช้ กระบวนการกลุ่ม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงจาก “ภายใน” เช่น การค้นพบ ความสามารถของตนเองการนับถือ ภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง
จังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2546 เป็นต้นมา มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีกระแสนิยม “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” มีภูมิคุ้มกันทางจิต คิดเป็นทำเป็น มีคุณธรรม มีการใช้ทักษะชีวิตที่เหมาะสม สามารถดำรงความเข้มแข็งในการต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติด มีส่วนร่วมในการป้องกัน ดูแล ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด รวมถึงผู้เสพ ผู้ติดได้รับความช่วยเหลือบำบัดรักษา และมีการการดำเนินงานศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้คำปรึกษา ฝึกทักษะ แก้ปัญหา พัฒนา EQ ให้กับเยาวชน กลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต และยาเสพติด รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการดำเนินงานของจังหวัดกำแพงเพชร ให้มีความเข้มแข็ง และขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องต่อไป
1) ทีมคณะกรรมการระดับจังหวัด ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ ระดับอำเภอในพื้นที่ทุกปี ปีละ 2 ครั้ง เพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค โดยจัดทำรายงานสรุปหาแนวทางแก้ไข อันจะนำไปสู่การพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2) มีการจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE ที่มีคุณภาพ สามารถส่งประกวดระดับจังหวัด ประเภทสถานศึกษาเพิ่มขึ้น 12 แห่ง สถานประกอบการ เพิ่มขึ้น 1 แห่ง และในชุมชน เพิ่มขึ้น 10 แห่ง ครอบคลุมทุกอำเภอ
3) จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจฯ โดย อบรมแกนนำอาสาสมัคร ให้บริการ “ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา พัฒนา EQ” ขณะนี้มีในสถานศึกษา สถานประกอบการ คุมประพฤติ สถานพินิจ และเรือนจำ รวมทั้งสิ้น 45 แห่ง ครอบคลุมทุกอำเภอ
4) จัดตั้งและดำเนินงานอำเภอ TO BE NUMBER ONE ครบทั้ง ๑๑ อำเภอ คิดเป็น 100% อำเภอ TO BE NUMBER ONE ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน เช่น ส่งเยาวชนและผลการดำเนินงาน เข้าประกวดในระดับจังหวัด และเพื่อให้อำเภอ TO BE NUMBER ONE มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จังหวัดได้แต่งตั้งคณะทำงานออกตรวจนิเทศและให้คำแนะนำ ส่งผลให้ผ่านเข้าสู่ระดับประเทศ ดังนี้
- ปี 2564 อำเภอ TO BE NUMBER ONE เมืองกำแพงเพชร ได้ขึ้นเป็นต้นแบบและรับรางวัลที่ 1 ระดับประเทศ
- ปี 2565 อำเภอ TO BE NUMBER ONE ทรายทองวัฒนา ขึ้นเป็นต้นแบบ
- ปี 2567 อำเภอ TO BE NUMBER ONE ไทรงาม และ อำเภอ TO BE NUMBER ONE ลานกระบือ ผ่านระดับภาคเข้าสู่ระดับประเทศ
- ส่งสมาชิกเข้าประกวด Dancercise /ระดับภาค 4 ทีม ผ่านระดับประเทศ 1 ทีม/ ไอดอล 8 คน /ผ่านระดับประเทศ 1 คน
- จำนวนสมาชิก TO BE NUMBER ONE เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 96.61
- สมาชิกได้ร่วมกิจกรรมของโครงการฯ มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 81.50
- สมาชิกความพึงพอใจในกิจกรรมโครงการฯ คิดเป็นร้อยละ 94.85
- การดำเนินงานตามโครงการใครติดยายกมือขึ้น
1) จัดทำค่ายจังหวัดโดยบูรณาการกับทุกภาคส่วนจำนวน 8 ค่าย
2) มีการค้นหาผู้เสพติดในสถานศึกษา ชุมชน และสถานประกอบการ โดยกระบวนการ X ray ในชุมชนพบสมาชิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดจำนวน 132 ราย เป็นนักเรียน 10 ราย พนักงานโรงงาน 5 ราย เกษตรกร/ผู้ใช้แรงงาน 117 ราย
3) ส่งต่อสมาชิกผู้เสพ/ผู้ติด เข้ารับการบำบัดโดยกลุ่มผู้ใช้บำบัดในชุมชนด้วย ระบบ CBTx ส่วนผู้เสพและผู้ติดส่งบำบัดในโรงพยาบาลในรูปแบบจิตสังคมบำบัด เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันในการประเมิน
4) มีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลในระบบ บสต. ซึ่งเป็นปัจจุบัน ดังนี้ ส่งบำบัด 132 ราย/ อยู่ระหว่างการบำบัด 53 ราย/ ติดตาม 79 ราย/ อยู่ระหว่างการติดตาม 40 ราย/ ติดตามครบโปรแกรม 39 ราย สามารถเลิกยาได้ไม่เสพซ้ำ 39 ราย คิดเป็น ร้อยละ 100 5.) มีการจัดทำรายงานโครงการใครติดยายกมือขึ้น ประจำปี เพื่อรายงานผู้บริหาร
รายงานข้อมูลโดย : กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร